Victoria & Abdul (2017) ราชินีและคนสนิท

ดูหนัง ซีรี่ย์ Victoria & Abdul (2017) ราชินีและคนสนิท

2017
IMDB 6.8
0 นาที
5,576
หมวดหมู่: หนังชีวิต ชีวประวัติ , หนังดราม่า , หนังประวัติศาสตร์

เรื่องย่อ

ในปี 1887 ทางอินเดียได้ส่งนาย อับดุล คาริม (อาลี ฟาซาล) นายทะเบียนเรือนจำไปถวายเหรียญโมเฮอร์ เครื่องบรรณาการจากอินเดียในงานเลี้ยงฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีของสมเด็จพระราชินีนารถวิกตอเรีย (จูดี้ เดนช์)และ ด้วยความอ่อนน้อมของ อับดุล และ ไมตรีจิตของ วิกตอเรีย ทำให้ทั้งสองพัฒนาความสัมพันธ์อย่างรวดเร็วกลายเป็นข่าวฉาวโฉ่ท่ามกลางเสียงคัดค้านทั่วราชสำนัก จนพระราชินี วิกตอเรียต้องเลือกระหว่างความสุขจากมิตรภาพที่ทำให้เธอชุ่มชื่นหัวใจกับหน้าที่และเกียรติยศแห่งราชสำนักอังกฤษที่เธอต้องรักษา ต้นธารของ Victoria and Abdul เกิดจาก ชราบานี บาซู (Shrabani Basu) นักข่าวได้เยือน ออสบอร์นเฮาส์ (Osborne House) บ้านพักฤดูร้อนของพระนางบนเกาะไวท์ (Isle of Wight) จนพบเบาะแสที่สามารถสืบสาวราวเรื่องจนได้เขียนหนังสือ Victoria & Abdul: The True Story of the Queen’s Closest Confidant ซึ่งเปิดเผยเรื่องราวความสัมพันธ์ต้องห้ามระหว่าง องค์ราชินีวิคตอเรีย ชนชั้นเจ้านาย กับ อับดุล คาริม บ่าวรับใช้จากอินเดียซึ่งในช่วงเวลาที่พระนางยังมีพระชนม์ชีพอยู่ถือเป็นเรื่องอื้อฉาวจนครอบครัวรับไม่ได้เนื่องจากในยุคสมัยนั้นสังคมอังกฤษโดยเฉพาะในรั้วในวังเต็มไปด้วยอคติต่อสีผิวเผ่าพันธุ์ที่อยู่ใต้อาณานิคม อันเป็นวัตถุดิบทรงเครื่องให้ ลี ฮอลล์ (Lee Hall) มาดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์เล่าแบบผสมผสานระหว่างดราม่าและตลก หรือที่เรียกว่า ดรามาดี้ (Dramady)จนได้หนังเบาสมองว่าด้วยความสัมพันธ์ต่างชนชั้นในเชิงแม่ลูกมากกว่าชู้สาว ทำให้หนังค่อนข้างให้ภาพความสัมพันธ์ของคนทั้งคู่ในเชิงบวก โดยให้ราชินีวิกตอเรียกลายเป็นคนแก่ขี้โรคที่โหยหาคนรัก ส่วนอับดุล คาริมก็ดูเป็นเด็กไร้เดียงสาที่เหมือนได้เจอแม่คนที่สอง ซึ่งหนังแก้ต่างให้ตัวเองตั้งแต่เปิดเรื่องเลยว่านี่คือหนังที่สร้างจากเรื่องจริงโดยส่วนใหญ่เพื่อเปิดทางให้สามารถใส่สีตีไข่ได้อย่างใจชอบ และเมื่อบทหนังอยู่ในมือสตีเฟน เฟรียรส์ (Stephen Frears) ผู้กำกับ The Queen (2006) ซึ่งบอกเล่าชีวิตราชินีเอลิซาเบธที่ 2ในช่วงวิกฤติศรัทธามาแล้วงานนี้จึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเขาแต่อย่างใด สำหรับ Victoria and Abdul คราวนี้เฟรียรส์เลือกบอกเล่าเหตุการณ์อื้อฉาวของพระนางวิกตอเรียไปควบคู่การวิพากษ์สังคมชั้นสูงของอังกฤษที่มีท่าทีเหยียดชาติพันธุ์ใต้อาณานิคมตัวเอง ยิ่งเมื่อมีคนอินเดียผิวสีมาเป็นสิ่งแปลกปลอมแถมยังใกล้ชิดพระราชินีจนได้เป็นคนโปรด แต่ในเมื่อเป็นหนังตลกที่เรื่องราวส่วนใหญ่อยู่ในวังบัคกิงแฮม หนังเลยให้เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ตและเจ้าหน้าที่ฝ่ายในกลายเป็นตัวอิจฉาที่วันๆจับผิดความสัมพันธ์ของทั้งคู่ คอยจับกลุ่มนินทาและออกโรงต่อต้านยามพระราชินีทรงมีพระดำริจะปูนบำเหน็จทาสรับใช้ผู้ต่ำต้อย ผลลัพธ์ของมันเลยค่อนข้างออกมาแตกต่างจากที่คาดการณ์ไว้พอสมควร เพราะคราวนี้หนังไม่ได้เลือกข้างความจริงทางประวัติศาสตร์แต่กลับจับเรื่องราวลับๆในวังมาใส่สีสันสร้างเรื่องราวความสัมพันธ์ต่างชนชั้นที่มีกำแพงเชื้อชาติ วัฒนธรรมและศาสนาเป็นประเด็นละเอียดอ่อนเพื่อเพิ่มความน่าเห็นใจให้คนทั้งคู่ เฟรียรส์ไม่ได้หยุดแค่การเล่าเรื่องคนแก่เอ็นดูเด็กหนุ่มธรรมดา แต่กลับให้พระนางวิกตอเรียนับถืออับดุลในฐานะ “มุนชี่” หรือ “ครู” ในภาษาอิสลาม แถมยังพยายามให้อับดุลนำแนวคิดศาสนาอิสลามและศิลปะแบบเปอร์เซียเข้ามามีบทบาทในนิวาสสถานของพระราชินี อันนำมาซึ่งแง่มุมน่ารักของอับดุลที่แม้เป็นมุสลิมแต่กลับจุมพิตฝ่าพระบาทของพระราชินีวิกตอเรีย ซึ่งอาจมองแบบผิวเผินโลกสวยอย่างที่หนังอยากให้มองคือการเคารพนับถือดุจญาติผู้ใหญ่หรืออาจตีความในด้านลบถึงความสิเน่หาต่อตัวพระนางก็ได้ยิ่งปฏิกิริยาตอบกลับคือความพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถึงแม้อาจจะฟังดูอกุศลแต่คนดูหลายคนก็อดไม่ได้ที่จะคอยลุ้นให้ทั้งคู่สมหวังในความรัก แม้จะต่างด้วยวัย สถานะและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ศาสนา” ที่ไม่เพียงเป็นกำแพงความสัมพันธ์เท่านั้นแต่ยังใช้เป็นเครื่องมือถ่ายทอดอคติของคนในราชสำนัก ทั้งการเรียกคนอินเดียว่าพวกฮินดูแบบเหมารวม แต่เมื่ออับดุลเปิดเผยว่าตนนับถือศาสนาอิสลามก็กลายเป็นเชื้อไฟหล่อเลี้ยงอคติของเหล่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายในและฟ้าชายอัลเบิร์ต ซึ่งแม้หนังจะเล่าในโทนตลกมากกว่าจะเป็นดราม่าเข้มข้น แต่หนังก็ใส่รายละเอียดบางอย่างเพื่อบอกถึงความข่มขื่นในความสัมพันธ์ของคนต่างชนชั้นตั้งแต่บทเพลงโอเปร่าว่าด้วยรักต่างชนชั้นที่จบลงด้วยโศกนาฏกรรมที่เหมือนเป็นลางบอกเหตุถึงปลายทางความสัมพันธ์ครั้งนี้ไปโดยปริยาย การออกแบบงานสร้างของ อลัน แมคโดนัลด์ (Alan MacDonald)และงานออกแบบเครื่องแต่งกายของ คอนโซเลตา บอยล์ (Consolata Boyle) มีความน่าสนใจหลายส่วนตั้งแต่การนำเสนออินเดียด้วยโทนร้อนทั้งเสื้อผ้าและพร็อพสีสดใส ขัดแย้งกับงานสร้างในวังบัคกิงแฮมที่ทุกอย่างอยู่ในโทนเย็นและสีทึบเพื่อแสดงถึงความแห้งแล้งเย็นชาไร้ชีวิตของราชินีตอนต้นเรื่อง ก่อนเสื้อผ้าของพระองค์จะค่อยๆทวีความสดใสอีกครั้ง ซึ่งจากผลงานอันโดดเด่นนี้น่าจะทำให้ทั้งคู่มีหวังเข้าชิงออสการ์ในปีหน้าอยู่ไม่น้อย ส่วนงานกำกับภาพของ แดนนี โคเฮน (Danny Cohen) ก็มีจุดน่าสนใจหลายจุดโดยเฉพาะฉากปิกนิกที่สก็อตแลนด์ที่ได้โชว์ศักยภาพในการวางเฟรมและจัดองค์ประกอบภาพสื่อความหมายในตัวได้เป็นอย่างดี ความน่าสนใจอีกประการของ Victoria and Abdul คือนี่ไม่ใช่หนังเรื่องแรกที่กล่าวถึงเรื่องราวความสัมพันธ์อื้อฉาวของพระราชินีวิกตอเรีย แต่ย้อนกลับไปในปี 1997 จูดี้ เดนช์ (Judi Dench) เคยรับบทพระราชินีวิกตอเรียมาแล้วใน Her Majesty, Mrs.Brown ที่กล่าวถึงเรื่องราวความสัมพันธ์อื้อฉาวของ พระราชินีวิกตอเรีย กับ นายจอห์น บราวน์ หลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายอัลเบิร์ต พระสวามี ดังนั้น Victoria and Abdul จึงถูกมองเป็นหนังภาคต่อกลายๆ เมื่อ จูดี้ เดนช์กลับมารับบทเดิมที่เคยส่งให้เธอได้เข้าชิงออสการ์เมื่อ 20 ปีก่อนเพื่อสานต่อเรื่องราวความสัมพันธ์ในบั้นปลายชีวิตของสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียอีกครั้ง โดยจูดี้ เดนช์ สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของหญิงสูงวัยในบั้นปลายชีวิตได้อย่างน่าเห็นอกเห็นใจ สมจริงน่าเชื่อถือและยกสถานะพระนางวิกตอเรียบนจอให้พ้นข้อหาโคแก่กินหญ้าอ่อนได้อย่างหมดจดงดงาม และขอพูดถึง อาลี ฟาซาล (Ali Fazal) ผู้ทำให้ อับดุล มีชีวิตจากประวัติศาสตร์ที่ถูกลบเลือนอีกครั้ง ฟาซาลเติมความไร้เดียงสาและความจริงใจในการแสดงจนคนดูเชื่อได้เลยว่า ชีวิตของพระนางวิกตอเรียได้แสงสว่างจากอับดุลจริงๆ และเขาสามารถต่อกรกับบรรดานักแสดงอังกฤษชื่อดังมากฝีมือได้อย่างสมน้ำสมเนื้ออีกด้วย

ตัวเล่นหลัก

หนังเรื่องอื่นๆ

หนังที่อยู่ในหมวดเดียวกัน


ค้นหา


หมวดหมู่